ธนบัตรแบบ ๗
พิมพ์ที่โรงพิมพ์เอกชนหลายแห่งที่มีผลงานอยู่ในระดับมาตรฐานขณะนั้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากเป็นช่วงปลายสงครามซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด คุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท และ ๕๐ บาท เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘
ธนบัตรแบบ ๘
เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลงในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ รัฐบาลไทยได้สั่งพิมพ์ธนบัตรไปยังบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด อีกครั้ง แต่โรงพิมพ์ของบริษัทได้รับความเสียหายจากสงคราม ไม่สามารถพิมพ์ให้ได้ รัฐบาลไทยจึงติดต่อให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์ธนบัตรให้ชั่วคราว โดยโรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง (Bureau of Engraving and Printing, Treasury Department) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำแม่แบบแม่พิมพ์ธนบัตร และว่าจ้างให้บริษัท ทิวดอร์ เพรส จำกัด (Tudor Press Inc.) เป็นผู้พิมพ์
ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน และภาพพระปฐมเจดีย์เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพรัฐธรรมนูญประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องจากธนบัตรแบบแปดสั่งพิมพ์ในรัชกาลที่ ๘ แต่ส่งเข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๘๙ ซึ่งขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว
ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน และภาพพระปฐมเจดีย์เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพรัฐธรรมนูญประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องจากธนบัตรแบบแปดสั่งพิมพ์ในรัชกาลที่ ๘ แต่ส่งเข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๘๙ ซึ่งขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว
ขอบคุณข้อมูลเว็บไชต์ : การธนาคารแห่งประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น