รายการ

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559

​ธนบัตรแบบต่างๆ (แบบที่ 12)

ธนบัตรแบบ ๑๒

เป็นธนบัตรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย "มหาราช" จึงได้เชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเทิดพระเกียรติดังกล่าว มาเป็นภาพประธานด้านหลังของธนบัตร มี ๓ ชนิดราคา ได้แก่ ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ณ ลานพระราชวังดุสิต
ขนาด : ๖.๙๐ x ๑๓.๒๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๒๓
วันออกใช้ : วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๓

ภาพประธานด้านหน้า : ​พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ. จันทบุรี
ขนาด : ๗.๒๐ x ๑๓.๘๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ 
วันออกใช้ : วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๔

ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ภาพประธานด้านหลัง : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จ. สุพรรณบุรี
ขนาด : ๘.๐๐ x ๑๕.๔๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๒๑ 
วันออกใช้ : วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๒๑

ขอบคุณข้อมูลเว็บไชต์ : การธนาคารแห่งประเทศไทย

​ธนบัตรแบบต่างๆ (แบบที่ 11)

ธนบัตรแบบ ๑๑

​เป็นธนบัตรแบบที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากขึ้น ด้วยการนำลายไทย สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเป็นศิลปะประจำชาติมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของธนบัตร นอกจากนี้ ยังมีลักษณะสำคัญคือ ภาพประกอบด้านหน้ามีความสัมพันธ์กับภาพประธานด้านหลัง ธนบัตรแบบสิบเอ็ด  มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท และ ๕๐๐ บาท
ภาพประธานด้านหน้า : พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย  
ภาพประธานด้านหลัง : พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด : ๖.๗๕ x ๑๓.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๒
วันออกใช้ : วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒

ภาพประธานด้านหน้า : ​พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ​
รงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง : ภาพประธานด้านหลัง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ขนาด : ๗.๐๐ x ๑๓.๕๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๑๒
วันออกใช้ : วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๑๒

ภาพประธานด้านหน้า : ​พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ​
รงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง : เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
ขนาด : ๗.๒๕ x ๑๔.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๑๔
วันออกใช้ : วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔

ภาพประธานด้านหน้า : ​พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ​
รงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง : วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
ขนาด : ๗.๗๕ x ๑๕.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๕
วันออกใช้ : วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๑๕

ภาพประธานด้านหน้า : ​พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ​
รงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภาพประธานด้านหลัง : พระปรางค์สามยอด ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ขนาด : ๘.๒๕ x ๑๖.๐๐ เซนติเมตร
วันประกาศออกใช้ : ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๑๘
วันออกใช้ : วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘

ขอบคุณข้อมูลเว็บไชต์ : การธนาคารแห่งประเทศไทย

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

​ธนบัตรแบบต่างๆ (แบบที่ 9 - แบบที่ 10)

ธนบัตรแบบ ๙

มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔  แต่เปลี่ยนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มี ๖ ชนิดราคา  ได้แก่ ๕๐ สตางค์ ๑ บาท  ๕ บาท ๑๐ บาท  ๒๐ บาท  และ ๑๐๐ บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๑ 
ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบเก้า มีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า ๒๐ ปี ประชาชนจึงคุ้นเคยกับสีของธนบัตรแต่ละชนิดราคาจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สีของธนบัตรแบบเก้า เป็นต้นแบบของการกำหนดสีของธนบัตรในปัจจุบัน

ธนบัตรแบบ ๑๐

ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบ ๙ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท ออกใช้ติดต่อกันนานกว่า ๒๐ ปี และพิมพ์ด้วยการพิมพ์เส้นนูนสีแดงเพียงสีเดียว จึงมีการปลอมแปลงมาก รัฐบาลจึงได้เปลี่ยนแบบธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาทใหม่ โดยด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นภาพประธาน ส่วนด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ และกำหนดให้พิมพ์สอดสีหลายสีและพิมพ์เส้นนูนสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสี ธนบัตรแบบสิบมีเพียงชนิดราคาเดียว พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๑

ขอบคุณข้อมูลเว็บไชต์ : การธนาคารแห่งประเทศไทย

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

​ธนบัตรแบบต่างๆ (แบบที่ 7 - แบบที่ 8)

ธนบัตรแบบ ๗

พิมพ์ที่โรงพิมพ์เอกชนหลายแห่งที่มีผลงานอยู่ในระดับมาตรฐานขณะนั้น โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปควบคุมดูแลการพิมพ์อย่างใกล้ชิด แต่เนื่องจากเป็นช่วงปลายสงครามซึ่งกระดาษและหมึกพิมพ์มีอยู่อย่างจำกัด คุณภาพและสีของธนบัตรจึงไม่ดีเท่าที่ควร มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท  ๕ บาท  ๑๐ บาท  และ ๕๐ บาท  เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘​

ธนบัตรแบบ ๘

เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพายุติลงในเดือนสิงหาคม ๒๔๘๘ รัฐบาลไทยได้สั่งพิมพ์ธนบัตรไปยังบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  อีกครั้ง แต่โรงพิมพ์ของบริษัทได้รับความเสียหายจากสงคราม ไม่สามารถพิมพ์ให้ได้ รัฐบาลไทยจึงติดต่อให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์ธนบัตรให้ชั่วคราว  โดยโรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง (Bureau of  Engraving and Printing, Treasury Department) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ทำแม่แบบแม่พิมพ์ธนบัตร และว่าจ้างให้บริษัท ทิวดอร์ เพรส จำกัด (Tudor Press Inc.) เป็นผู้พิมพ์

ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน  และภาพพระปฐมเจดีย์เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพรัฐธรรมนูญประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในรัชกาลที่ ๙ เนื่องจากธนบัตรแบบแปดสั่งพิมพ์ในรัชกาลที่ ๘ แต่ส่งเข้ามาถึงประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม ๒๔๘๙ ซึ่งขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว

ขอบคุณข้อมูลเว็บไชต์ : การธนาคารแห่งประเทศไทย

​ธนบัตรแบบต่างๆ (แบบที่ 5 - แบบที่ 6)

ธนบัตรแบบ ๕

ด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน โดยมีลายเฟื่อง อุโบสถและวิหารวัดภูมินทร์ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ประตูซุ้มยอดมงกุฎวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นภาพประกอบของแต่ละชนิดราคา ส่วนด้านหลังเป็นภาพพระบรมมหาราชวัง ด้านวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 
มี ๗ ชนิดราคาได้แก่ ๕๐ สตางค์  ๑ บาท  ๕ บาท  ๑๐ บาท  ๒๐ บาท  ๑๐๐ บาท  และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ที่โรงพิมพ์ธนบัตร กระทรวงการคลัง ประเทศญี่ปุ่น เริ่มทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕

ธนบัตรแบบ ๖​

พิมพ์ที่ กรมแผนที่ทหารบกและกรมอุทกศาสตร์ มี ๒ ชนิดราคา ได้แก่ ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท ใช้กระดาษที่ผลิตจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี เริ่มออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๘
ชนิดราคา ๒๐ บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากบริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  
ชนิดราคา ๑๐๐ บาท มีรูปแบบเหมือนกับธนบัตรแบบ ๔ ซึ่งพิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก 

ขอบคุณข้อมูลเว็บไชต์ : การธนาคารแห่งประเทศไทย